หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพดิจิทัล (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2565) 2022-03-28T15:50:16+07:00

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพดิจิทัล

(หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2565)



เกี่ยวกับหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพดิจิทัล วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้ถูกพัฒนาขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (Digital Transformation) ในระบบบริการสุขภาพ ทำให้เกิดเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ที่มีอิทธิพลต่อระบบการแพทย์และสาธารณสุข อาทิเช่น การนำระบบจัดเก็บและบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics) มาใช้ร่วมกับการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ในการจัดการข้อมูลเชิงเวชสารสนเทศ (Medical Informatics) ซึ่งสิ่งใหม่ ๆ เหล่านี้ จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเพิ่มผลลัพธ์ด้านสุขภาพ ทั้งการปรับปรุงการวินิจฉัยทางการแพทย์ให้ดียิ่งขึ้น การรักษาโดยใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ รวมถึงการนำข้อมูลมาใช้ในการดูแลผู้ป่วย เป็นต้น

หลักสูตรฯ นี้ได้ถูกพัฒนาบนพื้นฐานวิสัยทัศน์ของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ที่มุ่ง “สร้างสุขภาวะที่ดีและเท่าเทียมเพื่อทุกชีวิต ด้วยวิทยาการขั้นสูง นวัตกรรมและความเป็นเลิศ” และวิสัยทัศน์ของวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒนที่ต้องการเป็น “ผู้ให้ ผู้พัฒนา ผู้รักษาแห่งอนาคต” ซึ่งหลักสูตรฯ มีความตั้งใจในการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาระบบบริการและระบบบริหารจัดการสุขภาพ โดยเชื่อมโยงกับองค์ความรู้ทางด้านสุขภาพดิจิทัลและเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้เกิดการพัฒนาระบบสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน ผ่านการเรียนการสอนในรูปแบบ Blended Learning ที่ประกอบไปด้วย Online Learning และ Face-to-Face Learning



หลักสูตรและการศึกษา

ปรัชญาของหลักสูตร

สร้างผู้นำด้านสุขภาพดิจิทัลที่สามารถประยุกต์องค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ เพื่อยกระดับการบริการสุขภาพสู่อนาคต มีทักษะการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา และสร้างสรรค์งานวิจัยหรือนวัตกรรม บนพื้นฐานของเทคโนโลยีดิจิทัลและข้อมูลสุขภาพ

รูปแบบของหลักสูตร

หลักสูตรระดับปริญญาโท แผน ก แบบ ก 2 ระยะเวลาการศึกษา 2 ปี

ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLOs)

PLO1: อธิบายองค์ความรู้ทางด้านสุขภาพดิจิทัลที่ทันกับยุคสมัยการแพทย์ในปัจจุบัน

PLO2: ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางด้านข้อมูลสุขภาพและเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาในระบบบริการสุขภาพ

PLO3: ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพ เพื่อนำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่เข้าใจง่ายให้กับสหสาขาวิชาชีพ

PLO4: บริหารจัดการการเรียนรู้และโครงการวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์อย่างมีประสิทธิผล

PLO5: ทำงานร่วมกันในสหสาขาวิชาชีพ โดยคำนึงถึงจริยธรรมและสังคม

รายละเอียดของหลักสูตร (มคอ.2)

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพดิจิทัล (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. ๒๕๖๕) Click

หมวดวิชา หน่วยกิต
  • พศสด 5001 ระเบียบวิธีวิจัย
  • พศสด 5002 ชีวสถิติ
  • พศสด 5003 สัมมนางานวิจัยหัวข้อพิเศษ
9
  • พศสด 5101 ระบบสุขภาพและการดูแลสุขภาพ
  • พศสด 5102 เทคโนโลยีดิจิทัลและวิทยาศาสตร์ข้อมูลสำหรับสุขภาพ
  • พศสด 5103 การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในระบบบริการสุขภาพ
  • พศสด 5104 ข้อมูลขนาดใหญ่และการจัดการข้อมูลด้านสุขภาพ
  • พศสด 5105 ปัญญาประดิษฐ์ในทางการแพทย์
  • พศสด 5106 การบริหารจัดการสุขภาพดิจิทัลและความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ในระบบบริการสุขภาพ
12
  • พศสด 5401 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขั้นสูง
  • พศสด 5402 แบบจำลองทางชีวการแพทย์สำหรับข้อมูลสุขภาพ
  • พศสด 5403 โรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ
  • พศสด 5404 การค้นพบและนวัตกรรมทางการแพทย์
  • พศสด 6401 นโยบายและกลยุทธ์ทางสุขภาพดิจิทัล
  • พศสด 6402 การพัฒนาซอฟต์แวร์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับการวิจัยด้านสุขภาพ
  • พศสด 6403 การสร้างภาพและการประมวลผลสัญญาณทางการแพทย์
  • พศสด 6404 การบริหารจัดการข้อมูลในการทดลองทางคลินิก
3


วิทยานิพนธ์




12



จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร (ไม่น้อยกว่า)




36

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

    • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า จากสถาบันอุดมศึกษาที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับรองวิทยฐานะที่มีอำนาจตามกฎหมายรับรอง ในสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ วิทยาศาสตร์ชีวสถิติ วิศวกรรมชีวการแพทย์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ อาทิเช่น แพทยศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ สาธารณสุขศาสตร์ หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือมีคุณสมบัติอื่นตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรกำหนด
    • ผ่านการสอบคัดเลือกตามเกณฑ์ของวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา

    • มีผลการเรียนในระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐ พร้อมทั้งเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย
    • ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติ หรือนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings)
    • นักศึกษาจะต้องผ่านเกณฑ์การทดสอบภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒  Click
    • และอื่น ๆ เป็นไปตามข้อบังคับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๓

มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ก่อนสำเร็จการศึกษา Click

นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ทุกคน ต้องสอบผ่านการทดสอบเพื่อประเมินความรู้ ความสามารถ และทักษะภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ก่อนสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ดังต่อไปนี้

1. TOEFL
1.1 Paper-based ที่ระดับคะแนนตั้งแต่ 500 คะแนนขึ้นไป
1.2 Computer-based ที่ระดับคะแนนตั้งแต่ 173 คะแนนขึ้นไป
1.3 Internet-based ที่ระดับคะแนนตั้งแต่ 64 คะแนนขึ้นไป หรือ
2. IELTS ที่ระดับคะแนนตั้งแต่ 5.0 คะแนนขึ้นไป หรือ
3. CU-TEP ที่ระดับคะแนนตั้งแต่ 60 คะแนนขึ้นไป หรือ
4. MU GRAD TEST ที่ระดับคะแนนตั้งแต่ 60 คะแนนขึ้นไป หรือ
5. TU-GET ที่ระดับคะแนนตั้งแต่ 550 คะแนนขึ้นไป หรือ
6. KU-EPT ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
1. ค่าเล่าเรียน ประกอบด้วย
1.1 บรรยาย/ทฤษฎี/สัมมนา 2,000 บาท/หน่วยกิต
1.2 ปฏิบัติการ 3,000 บาท/หน่วยกิต
1.3 วิทยานิพนธ์ 4,000 บาท/หน่วยกิต
2. ค่าบำรุงการศึกษา
2.1 ค่าบำรุงการศึกษา 10,000 บาท/ภาคการศึกษา
2.2 ค่าบำรุงห้องสมุด 500 บาท/ภาคการศึกษา
2.3 ค่าบำรุงกิจกรรมเสริมหลักสูตร 2,500 บาท/ภาคการศึกษา
2.4 ค่าบำรุงกิจกรรมนักศึกษา 500 บาท/ภาคการศึกษา
2.5 ค่าบำรุงอินเตอร์เน็ต 500 บาท/ภาคการศึกษา
2.6 ค่าประกันอุบัติเหตุ 500 บาท/ภาคการศึกษา
2.7 ค่าบริการสุขภาพ 1,000 บาท/ภาคการศึกษา
3. ค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าปรับ
3.1 ค่าธรรมเนียมขึ้นทะเบียนนักศึกษาแรกเข้า 2,500 บาท
3.2 ค่าทำบัตรประจำตัวนักศึกษา 300 บาท
3.3 ค่าประกันของเสียหาย (คืนให้เมื่อสำเร็จการศึกษาหรือพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา) 2,000 บาท
3.4 ค่ารักษาสภาพนักศึกษา 5,000 บาท/ภาคการศึกษา



หมายเหตุ
: ค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าปรับอื่น ๆ เป็นไปตามประกาศราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เรื่อง อัตราค่าเล่าเรียน ค่าบำรุง และค่าธรรมเนียม ระดับบัณฑิตศึกษา

ประชาสัมพันธ์และข่าวสาร

ภาพบรรยากาศงานเสวนา CRA Digital Health UpSKill เสริมทักษะสุขภาพดิจิทัลให้พร้อมรับทุกดิสรัปชั่น ยกระดับบริการสุขภาพดิจิทัลสู่คนไทย กับงานเสวนาเปิดตัวหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพดิจิทัล Master of Science Program in Digital Health วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

ขอเชิญทุกท่านร่วมรับชม Live “CRA Digital Health” งานเสวนาเปิดตัวหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพดิจิทัล วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ วันอังคารที่ 22 มีนาคม 2565 เวลา 10.00-11.30 น.

ประกาศวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน เรื่อง การรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพดิจิทัล ประจำปีการศึกษา 2565

Load More Posts

ติดต่อสอบถาม

เบอร์โทรติดต่อ: 02-576-6600 ต่อ 8476 (คุณสุจิตรา ใจสุข)

Email: [email protected]

Digital Health PSCM