หลักสูตรวิชาฟิสิกส์การแพทย์ (ป.โท) 2020-03-11T08:56:41+07:00

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์การแพทย์

Master of Science Program in Medical Physics

  • มคอ.2 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์การแพทย์ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2562) Click

ค่าเล่าเรียน

ค่าเล่าเรียนและค่าบำรุงการศึกษา ตลอดหลักสูตร ระยะเวลา 2 ปี รวมประมาณ 200,000 บาท Click

(มีทุนการศึกษาสำหรับค่าเล่าเรียนและค่าบำรุงการศึกษา รวมไม่เกิน 200,000 บาทตลอดหลักสูตรต่อคน) ทุนปีการศึกษา 2563

กรุณาติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่
เบอร์โทรติดต่อ: 064-585-5284 (ติดต่อคุณสุกัญญา ทิราพงษ์)

 ระยะเวลา

2 ปี

สถานที่เรียน

คณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข
และชั้น B1 งานรังสีรักษา
อาคารศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์
โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

ปีการศึกษา 2563

มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษ

มาตราฐานความรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ก่อนสำเร็จการศึกษา Click

ลงทะเบียน
รายละเอียดวิชา
เกี่ยวกับหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์การแพทย์

ฟิสิกส์การแพทย์ เป็นสาขาวิชาที่นำความรู้และกระบวนการทางฟิสิกส์และการคำนวณ มาประยุกต์ใช้ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยด้วยรังสี นักฟิสิกส์การแพทย์ในโรงพยาบาลทำงานร่วมกับทีมสหวิชาชีพอย่างใกล้ชิด ประกอบด้วย รังสีแพทย์ นักฟิสิกส์การแพทย์ และนักรังสีการแพทย์

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์การแพทย์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นหลักสูตรใหม่เริ่มปีการศึกษา 2562 การพัฒนาหลักสูตรรองรับการผลิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาฟิสิกส์การแพทย์ ซึ่งเป็นสาขาที่ขาดแคลนของประเทศ

บทบาทและหน้าที่ของนักฟิสิกส์การแพทย์

– คำนวณปริมาณรังสีที่ใช้ในการฉายรังสีรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง

– กำหนดระดับปริมาณรังสีและการควบคุมคุณภาพของภาพถ่ายรังสีให้มีความเหมาะสม

– ตรวจสอบและควบคุมคุณภาพเครื่องกำเนิดรังสีและเทคนิคการฉายรังสีที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วย

– วางแผนการรักษาผู้ป่วยร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านรังสีรักษาและเวชศาสตร์นิวเคลียร์

– บริหารจัดการด้านความปลอดภัยทางรังสี

– วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับงานทางด้านรังสีการแพทย์ โดยการประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านฟิสิกส์รังสีกับความรู้และเทคโนโลยีแขนงอื่น เช่น สถิติ คอมพิวเตอร์ และการประมวลผล ปัญญาประดิษฐ์ เป็นต้น

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ผลิตบุคลากรด้านฟิสิกส์การแพทย์

– ที่มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติที่ก้าวทันต่อวิทยาการด้านฟิสิกส์การแพทย์ และวิทยาการด้านอื่น ๆ แบบคู่ขนาน

– สามารถทำการศึกษาวิจัยและสร้างสรรค์นวัตกรรมในสาขาวิชาฟิสิกส์การแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ

ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์การแพทย์ มุ่งเน้นผลิตมหาบัณฑิตที่เป็นเลิศทางการปฏิบัติผ่านการบูรณาการองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรม โดย

– ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Approach) ประกอบด้วย ความรู้พื้นฐาน การตั้งคำถาม การประยุกต์ใช้ความรู้ในการออกแบบแผนการปฏิบัติ การปฏิบัติ และการประเมินผล

– ผลักดันการเรียนรู้ผ่านกระบวนการวิเคราะห์เชิงคุณภาพและปริมาณ

– ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติการเชิงคลินิก และการพัฒนานวัตกรรม

– สนับสนุนการเรียนรู้การสื่อสารโดยใช้ภาษาอังกฤษควบคู่กับภาษาไทย

แผนการเรียนการสอน

 แผนการเรียนการสอน (รวม 36 หน่วยกิต)

วิชาปรับพื้นฐาน

Radiation Physics

Mathematics, Statistics & Programming for Medical Physicists

Anatomy & Physiology for Medical Physicists

ปีการศึกษาที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 

Radiotherapy physics

Radiation Dosimetry and Instrument

Quality Assurance and Dose Measurement Lab

Research Methodology

Seminar in Medical Physics

ปีการศึกษาที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 

Radiation Protection

Radiation Biology

Radiation Oncology Treatment Planning

Elective (1 วิชา)

Seminar

ปีการศึกษาที่ 1 ภาคฤดูร้อน

Clinical Practice for Medical Physics จำนวน 280 ชั่วโมง

ปีการศึกษาที่ 2 ภาคเรียนที่ 1

Diagnostic Imaging Physics

Nuclear Medical Physics

Thesis (3 หน่วยกิต)

Elective (1วิชา)

ปีการศึกษาที่ 2 ภาคเรียนที่ 2

Thesis (9 หน่วยกิต)

สำหรับในภาคเรียนนี้ นักศึกษาสามารถมีโอกาสเข้าโครงการแลกเปลี่ยน เพื่อไปพัฒนางานวิจัยและฝึกฝนปฏิบัติงานคลินิกในต่างประเทศ (ตามหน่วยงานที่ให้เลือก)

รายวิชาเลือก ประกอบด้วย

Modern Technique in Radiotherapy

Computational and Image Processing

Artificial Intelligence in Medical Physics

Quality Management System

Electronics in Medical Physics

Special Topics in Medical Physics

ผลการเรียนรู้ของหลักสูตร (Learning outcomes) 

ด้านคุณธรรม จริยธรรม

มีความซื่อสัตย์ มีวินัย ปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของหลักสูตร และวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

มีจรรณบรรณทางวิชาชีพฟิสิกส์การแพทย์และการให้บริการทางการแพทย์

เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

ด้านความรู้

สามารถอธิบายหลักการและความรู้พื้นฐานทางฟิสิกส์การแพทย์

สามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้ของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง นำไปสู่ความเข้าใจความรู้อย่างเป็นระบบ

ด้านทักษะทางปัญญา

สามารถพัฒนาและประยุกต์ใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการแก้ปัญหาและการวิจัยได้

สามารถเรียนรู้ผ่านกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ด้วยตัวเอง

สามารถสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรม

ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

สามารถปฏิบัติงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ

สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ในสาขาวิชาฟิสิกส์การแพทย์ให้กับบุคคลในสหสาขาวิชาชีพได้

มีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง และงานที่ได้รับมอบหมาย

ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

สามารถวิเคราะห์และประยุกต์ใช้ข้อมูลทางคณิตศาสตร์และสถิติ องค์ความรู้ และเทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาทางคลินิกอย่างเป็นระบบ

สามารถสื่อสารโดยใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในระดับวิชาชีพและวิชาการ

สามารถนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมในระดับชาติและนานาชาติได้

ด้านทักษะการปฏิบัติ

สามารถปฏิบัติงานทางคลินิก ประกอบด้วย การวางแผนการรักษา การประกันคุณภาพและการเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมและการบริหารจัดการการป้องกันอันตรายจากรังสี

คณาจารย์ของหลักสูตร

ประธานหลักสูตร

  • ดร.ทศพร เฟื่องรอด (Ph.D., M.Phil, B.Eng)

อาจารย์ประจำหลักสูตร และอาจารย์ผู้สอน

  • ดร.ดนุพล นันทจิต (Ph.D., B.A.)
  • ดร.เธียรสิน เลี่ยมสุวรรณ (Ph.D., Diplom Physik)
  • ดร.อุชุพล เรืองศรี (Ph.D., B.S.)
  • นายแสงอุทิศ ทองสวัสดิ์ (M.Sc., B.Sc.)

อาจารย์ผู้สอน

  • ผศ.จีระภา ตันนานนท์ (M.S., M.Sc., B.S.)
  • พญ. ศศิกาญจน์ จำจด (Research Fellow, Diploma, M.D)
  • พญ. กัญญานีย์ แลบัว (Diploma, M.D.)
  • พญ. พรวรี ตรีสสพานิช (Diploma, M.D.)
  • พญ. สุนันทา โรจน์วัฒน์กาญจน (Diploma, M.D.)
  • นพ. ธง โชติชุติพันธุ์ (Research Fellow, Diploma, M.D.)
  • พญ. สริยา บวรภัทรปกรณ์ (Diploma, M.D.)
  • นายจีรศักดิ์ คำฟองเครือ (ฺM.Sc., B.Sc.)
  • นายกิตติพล เดชะวรกุล (ฺM.Sc., B.Sc.)
  • นส. สวนีย์ สันติวงศ์ (ฺM.Sc., B.Sc.)
  • นส. ปนัดดา อินทนินธ์ (ฺM.Sc., B.Sc.)
  • นส. วิไล มาสง่า (ฺM.Sc., B.Sc.)
  • นส.สุมนา ปะดุกา (ฺM.Sc., B.Sc.)
การรับสมัคร

การรับสมัครนักศึกษา ปีการศึกษา 2562

ประกาศรับสมัคร 

คลิกเพื่อสมัครและลงทะเบียนออนไลน์

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าสาขาฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ รังสีเทคนิค วิศวกรรมชีวการแพทย์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • เกรดเฉลี่ยระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.5
  • มีผลคะแนนความรู้ภาษาอังกฤษเป็นไปตามที่หลักสูตรกำหนด