New- เกี่ยวกับหลักสูตร ฟิสิกส์การแพทย์ 2022-04-29T11:49:57+07:00

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์การแพทย์

เกี่ยวกับหลักสูตร

ฟิสิกส์การแพทย์ เป็นสาขาวิชาที่นำความรู้และกระบวนการทางฟิสิกส์และการคำนวณ มาประยุกต์ใช้ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยด้วยรังสี นักฟิสิกส์การแพทย์ในโรงพยาบาลทำงานร่วมกับทีมสหวิชาชีพอย่างใกล้ชิด ประกอบด้วย รังสีแพทย์ นักฟิสิกส์การแพทย์ และนักรังสีการแพทย์

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์การแพทย์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นหลักสูตรใหม่เริ่มปีการศึกษา 2562 การพัฒนาหลักสูตรรองรับการผลิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาฟิสิกส์การแพทย์ ซึ่งเป็นสาขาที่ขาดแคลนของประเทศ

หลักสูตรและการศึกษา

ปีการศึกษา

2564

ระยะเวลา

2 ปี

บทบาทและหน้าที่ของนักฟิสิกส์การแพทย์

– คำนวณปริมาณรังสีที่ใช้ในการฉายรังสีรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง

– กำหนดระดับปริมาณรังสีและการควบคุมคุณภาพของภาพถ่ายรังสีให้มีความเหมาะสม

– ตรวจสอบและควบคุมคุณภาพเครื่องกำเนิดรังสีและเทคนิคการฉายรังสีที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วย

– วางแผนการรักษาผู้ป่วยร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านรังสีรักษาและเวชศาสตร์นิวเคลียร์

– บริหารจัดการด้านความปลอดภัยทางรังสี

– วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับงานทางด้านรังสีการแพทย์ โดยการประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านฟิสิกส์รังสีกับความรู้และเทคโนโลยีแขนงอื่น เช่น สถิติ คอมพิวเตอร์ และการประมวลผล ปัญญาประดิษฐ์ เป็นต้น

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ผลิตบุคลากรด้านฟิสิกส์การแพทย์

– ที่มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติที่ก้าวทันต่อวิทยาการด้านฟิสิกส์การแพทย์ และวิทยาการด้านอื่น ๆ แบบคู่ขนาน

– สามารถทำการศึกษาวิจัยและสร้างสรรค์นวัตกรรมในสาขาวิชาฟิสิกส์การแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ

ปรัชญาของหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์การแพทย์ มุ่งเน้นผลิตมหาบัณฑิตที่เป็นเลิศทางการปฏิบัติผ่านการบูรณาการองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรม โดย

– ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Approach) ประกอบด้วย ความรู้พื้นฐาน การตั้งคำถาม การประยุกต์ใช้ความรู้ในการออกแบบแผนการปฏิบัติ การปฏิบัติ และการประเมินผล

– ผลักดันการเรียนรู้ผ่านกระบวนการวิเคราะห์เชิงคุณภาพและปริมาณ

– ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติการเชิงคลินิก และการพัฒนานวัตกรรม

– สนับสนุนการเรียนรู้การสื่อสารโดยใช้ภาษาอังกฤษควบคู่กับภาษาไทย

มคอ.2 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์การแพทย์ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2562) Click

วิชาปรับพื้นฐาน

Radiation Physics

Mathematics, Statistics & Programming for Medical Physicists

Anatomy & Physiology for Medical Physicists

ปีการศึกษาที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 

Radiotherapy physics

Radiation Dosimetry and Instrument

Quality Assurance and Dose Measurement Lab

Research Methodology

Seminar in Medical Physics

ปีการศึกษาที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 

Radiation Protection

Radiation Biology

Radiation Oncology Treatment Planning

Elective (1 วิชา)

Seminar

ปีการศึกษาที่ 1 ภาคฤดูร้อน

Clinical Practice for Medical Physics จำนวน 280 ชั่วโมง

ปีการศึกษาที่ 2 ภาคเรียนที่ 1

Diagnostic Imaging Physics

Nuclear Medical Physics

Thesis (3 หน่วยกิต)

Elective (1วิชา)

ปีการศึกษาที่ 2 ภาคเรียนที่ 2

Thesis (9 หน่วยกิต)

สำหรับในภาคเรียนนี้ นักศึกษาสามารถมีโอกาสเข้าโครงการแลกเปลี่ยน เพื่อไปพัฒนางานวิจัยและฝึกฝนปฏิบัติงานคลินิกในต่างประเทศ (ตามหน่วยงานที่ให้เลือก)

Electronics in Medical Physics

Special Topics in Medical Physics

รายวิชาเลือก ประกอบด้วย

  • Modern Technique in Radiotherapy
  • Computational and Image Processing
  • Artificial Intelligence in Medical Physics
  • Quality Management System

ด้านคุณธรรม จริยธรรม

  • มีความซื่อสัตย์ มีวินัย ปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของหลักสูตร และวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
  • มีจรรณบรรณทางวิชาชีพฟิสิกส์การแพทย์และการให้บริการทางการแพทย์
  • เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

ด้านความรู้

  • สามารถอธิบายหลักการและความรู้พื้นฐานทางฟิสิกส์การแพทย์
  • สามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้ของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง นำไปสู่ความเข้าใจความรู้อย่างเป็นระบบ

ด้านทักษะทางปัญญา

  • สามารถพัฒนาและประยุกต์ใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการแก้ปัญหาและการวิจัยได้
  • สามารถเรียนรู้ผ่านกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ด้วยตัวเอง
  • สามารถสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรม

ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

  • สามารถปฏิบัติงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ
  • สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ในสาขาวิชาฟิสิกส์การแพทย์ให้กับบุคคลในสหสาขาวิชาชีพได้
  • มีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง และงานที่ได้รับมอบหมาย

ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

  • สามารถวิเคราะห์และประยุกต์ใช้ข้อมูลทางคณิตศาสตร์และสถิติ องค์ความรู้ และเทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาทางคลินิกอย่างเป็นระบบ
  • สามารถสื่อสารโดยใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในระดับวิชาชีพและวิชาการ
  • สามารถนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมในระดับชาติและนานาชาติได้

ด้านทักษะการปฏิบัติ

  • สามารถปฏิบัติงานทางคลินิก ประกอบด้วย การวางแผนการรักษา การประกันคุณภาพและการเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมและการบริหารจัดการการป้องกันอันตรายจากรังสี

  • วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
  • งานรังสีรักษา ชั้น B1 อาคารศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

ค่าเล่าเรียนและค่าบำรุงการศึกษา

ตลอดหลักสูตร ระยะเวลา 2 ปี รวมประมาณ 200,000 บาท Click

ทุนเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา เพื่อพัฒนานักฟิสิกส์การแพทย์

ทุนการศึกษาสำหรับค่าเล่าเรียนและค่าบำรุงการศึกษา รวมไม่เกิน 200,000 บาทตลอดหลักสูตรต่อคน ทุนปีการศึกษา 2563

มาตราฐานความรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ก่อนสำเร็จการศึกษา Click

ประธานหลักสูตร

    • ดร.ทศพร เฟื่องรอด (Ph.D., M.Phil, B.Eng)

อาจารย์ประจำหลักสูตร และอาจารย์ผู้สอน

    • ดร.ดนุพล นันทจิต (Ph.D., B.A.)
    • ดร.เธียรสิน เลี่ยมสุวรรณ (Ph.D., Diplom Physik)
    • ดร.อุชุพล เรืองศรี (Ph.D., B.S.)
    • นายแสงอุทิศ ทองสวัสดิ์ (M.Sc., B.Sc.)

อาจารย์ผู้สอน

    • ผศ.จีระภา ตันนานนท์ (M.S., M.Sc., B.S.)
    • พญ. ศศิกาญจน์ จำจด (Research Fellow, Diploma, M.D)
    • พญ. กัญญานีย์ แลบัว (Diploma, M.D.)
    • พญ. พรวรี ตรีสสพานิช (Diploma, M.D.)
    • พญ. สุนันทา โรจน์วัฒน์กาญจน (Diploma, M.D.)
    • นพ. ธง โชติชุติพันธุ์ (Research Fellow, Diploma, M.D.)
    • พญ. สริยา บวรภัทรปกรณ์ (Diploma, M.D.)
    • นายจีรศักดิ์ คำฟองเครือ (ฺM.Sc., B.Sc.)
    • นายกิตติพล เดชะวรกุล (ฺM.Sc., B.Sc.)
    • นส. สวนีย์ สันติวงศ์ (ฺM.Sc., B.Sc.)
    • นส. ปนัดดา อินทนินธ์ (ฺM.Sc., B.Sc.)
    • นส. วิไล มาสง่า (ฺM.Sc., B.Sc.)
    • นส.สุมนา ปะดุกา (ฺM.Sc., B.Sc.)

ประกาศ เกี่ยวกับหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์การแพทย์

 

การรับสมัครนักศึกษา ปีการศึกษา 2565

ประกาศรับสมัคร รอบที่ 2

ใบสมัครขอรับทุนเฉลิมพระเกียรติเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ปีการศึกษา 2565 

รับสมัครผู้รับทุน 60 พรรษา สาขาฟิสิกส์การแพทย์ 2565 

คลิกเพื่อสมัครและลงทะเบียนออนไลน์

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

    • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าสาขาฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ รังสีเทคนิค วิศวกรรมชีวการแพทย์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
    • เกรดเฉลี่ยระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.5
    • มีผลคะแนนความรู้ภาษาอังกฤษเป็นไปตามที่หลักสูตรกำหนด

ประชาสัมพันธ์และข่าวสาร

International day of Medical Physics 2021
PCCMS MED MOMENT EP 16 หลักสูตรวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ และหลักสูตรฟิสิกส์การแพทย์
จากรุ่นพี่…สู่รุ่นน้องฟิสิกส์การแพทย์

ภาพบรรยากาศ โครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์การแพทย์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ประจำปีการศึกษา 2565

By | July 4th, 2022|Categories: MedPhy - ข่าวประชาสัมพันธ์, ข่าวประชาสัมพันธ์, ข่าวสารประชาสัมพันธ์ หน้าแรก|

Comments Off on ภาพบรรยากาศ โครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์การแพทย์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ประจำปีการศึกษา 2565

ประชาสัมพันธ์โครงการกะเทาะเปลือกนวัตกร

By | May 20th, 2021|Categories: MedPhy - ข่าวประชาสัมพันธ์, Uncategorized|

Comments Off on ประชาสัมพันธ์โครงการกะเทาะเปลือกนวัตกร

ติดต่อสอบถาม

เบอร์โทรติดต่อ: 064-585-5284 (ติดต่อคุณสุกัญญา ทิราพงษ์)

Email: [email protected]