หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาตจวิทยา 2022-07-01T09:23:43+07:00

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาตจวิทยา

เกี่ยวกับหลักสูตร



หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาตจวิทยา วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มีจุดเด่นในด้านสมรรถนะดิจิตัลและการใช้เทคโนโลยีดิจิตัลในการพัฒนาการวินิจฉัยและรักษาโรคผิวหนัง สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิตัลในการเชื่อมต่อทางไกลกับผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชน มีความรู้และทักษะด้านผิวหนัง ให้การรักษาได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนและคำนึงถึงผู้ป่วยและประชาชนเป็นศูนย์กลางสามารถเรียนรู้พัฒนาตนเองด้านการดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่องด้วยการใช้เวชศาสตร์เชิงประจักษ์ และมีศักยภาพในการสร้างงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาสาธารณสุขด้านโรคผิวหนัง และพัฒนาสุขภาพของประชาชน หลักสูตรยังส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น การฝึกปฏิบัติด้านผิวหนังในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยอื่นๆ และการเข้าร่วมฟังบรรยายและฝึกปฏิบัติทางคลินิกหรือวิจัยในสถาบันชั้นนำในต่างประเทศ

หลักสูตรและการศึกษา

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย                             หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาตจวิทยา

ภาษาอังกฤษ                        Master of Science Program in Dermatology

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย)               วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ตจวิทยา)

ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ)          Master of Science (Dermatology)

ชื่อย่อ (ภาษาไทย)                 วท.ม. (ตจวิทยา)

ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ)            M.Sc. (Dermatology)

ปีการศึกษา

ปีการศึกษา 2565

ระยะเวลา

ระยะเวลา 2 ปี

บทบาทและหน้าที่

– ประกอบวิชาชีพตามสาขาภายใต้ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมของตนเอง ในสถานประกอบการของรัฐหรือเอกชน

– นักวิจัยหรือนักพัฒนานวัตกรรมด้านผิวหนังในองค์กรภาครัฐหรือเอกชน

– อาจารย์ในสถาบันการศึกษาของรัฐหรือเอกชน

– ศึกษาต่อระดับสูงในมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศ

– ประกอบอาชีพอิสระ เช่น นักวิชาการหรือที่ปรึกษาด้านผิวหนัง ภาคประชาชน

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

มุ่งเน้นผลิตบุคคลากรที่จะมาสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรม ให้บริการสุขภาพด้านผิวหนังโดยคำนึงถึงผู้ป่วยและประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต มีสมรรถนะดิจิตัลและสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิตัลได้อย่างเหมาะสม เพื่อแก้ไขปัญหาสาธารณสุขด้านผิวหนัง และพัฒนาสุขภาพของประชาชน ด้วยความเป็นเลิศเพื่อทุกชีวิต

ปรัชญาของหลักสูตร

“น้อมนำพระปณิธาน สร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรม ให้บริการสุขภาพด้านผิวหนังโดยคำนึงถึงผู้ป่วยและประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต มีสมรรถนะดิจิตัลและสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิตัลได้อย่างเหมาะสม เพื่อแก้ไขปัญหาสาธารณสุขด้านผิวหนัง และพัฒนาสุขภาพของประชาชน ด้วยความเป็นเลิศเพื่อทุกชีวิต”

ระยะเวลา 2 ปี

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 39 หน่วยกิต

– หลักการวิจัยทางการแพทย์และจริยธรรมการวิจัย

Principles of Medical Research and Research Ethics

– เวชศาสตร์เชิงประจักษ์

Evidence Based Medicine

– สถิติที่จำเป็นสำหรับการวิจัยทางการแพทย์

Essential Statistics for Medical Research

– เทคโนโลยีและสมรรถนะดิจิตัล

Digital Technology and Digital Literacy

– วิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานทางตจวิทยา

Basic Medical Science in Dermatology

– ตจวิทยาทั่วไป 1

General Dermatology 1

– ตจวิทยาเวชปฏิบัติ 1

Practical Dermatology 1

– ตจวิทยาทั่วไป 2

General Dermatology 2

– ตจวิทยาเวชปฏิบัติ 2

Practical Dermatology 2

– ตจพยาธิวิทยา

Dermatopathology

– ตจวิทยาเขตร้อนและสุขภาพหนึ่งเดียว

Tropical Dermatology and One Health

– เทคนิคระดับโมเลกุลและจีโนม

Molecular and Genomic Techniques

– สัมมนางานวิจัยทางตจวิทยา

Research Seminar in Dermatology

– หมวดวิชาเลือก

Elective

– วิทยาภูมิคุ้มกันและมะเร็งวิทยาด้านผิวหนัง

Dermato-immunology and Dermato-oncology

– นวัตกรรมการแพทย์ผิวหนัง

Innovation in Dermatology

– การแพทย์แม่นยำและปัญญาประดิษฐ์

Precision Medicine and AI

– ความผิดปกติทางผิวหนังในผู้สูงอายุ

Skin Disorders in the Elderly

– หมวดวิชาเลือก

Elective

– วิทยานิพนธ์

Thesis

– โรคผิวหนังที่สัมพันธ์กับมลภาวะและการเดินทาง

Pollution and Travel-associated Skin Diseases

– ความผิดปกติของผิวหนังจากพันธุกรรม

Hereditary Skin Disorders

– สมุนไพร พืชพื้นบ้าน และผิวหนัง

Traditional and Herbal Medicine and Skin

– การวิจัยเชิงทดลองทางคลินิก

Clinical Trials

– ตจวิทยาในชุมชน

Community Dermatology

– โรคผิวหนังที่เกิดจากการงานและอาชีพ

Occupational Skin Diseases

– โรคผิวหนังในเด็ก

Skin Diseases in Children

– ตจวิทยาเฉพาะทาง

Dermatology Specialty

– ผลิตภัณฑ์อุปโภค และเวชสำอางทางผิวหนัง

Dermaceutical Products and Cosmetic Dermatology

– การบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่

Big Data Management

– ระบบบริการสุขภาพด้านตจวิทยา

Health Care System in Dermatology

  • วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
  • โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

ตลอดหลักสูตร ระยะเวลา 2 ปี รวมประมาณ 600,000 บาท

มาตราฐานความรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ก่อนสำเร็จการศึกษา Click

ประธานหลักสูตร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงปิยกานต์ ลิมธัญญกูล

อาจารย์ประจำหลักสูตร และอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์นายแพทย์ ดร. ฤทธี สมิทธิ์ฤทธี

อาจารย์นายแพทย์ รัศม์ฐวัฒน์ ดีสมโชค

อาจารย์ ดร. วิริยะ มหิกุล

อาจารย์ ดร. อัญมณี ชัยประสงค์สุข

อาจารย์ผู้สอน

อาจารย์ ดร.อรวรรณ ทรัพย์ปราโมทย์

อาจารย์ ดร.วิมลฉัตร ตั้งอมรสุขสันต์

อาจารย์ ดร.กมลวรรณ สูนย์กลาง

อาจารย์ ดร.พัชราภรณ์ วงศ์ชาดากุล

อาจารย์ ดร.ณรงค์ฤทธิ์ ศรีธนะ

อาจารย์ ดร.ทศพร เฟื่องรอด

อาจารย์ ดร.ปณิธิ อัจฉราฤทธิ์

เข้าสู่ระบบรับสมัคร

จำนวนรับเข้าศึกษา 5 คน

คุณสมบัติ

– เป็นผู้สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาที่ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) และแพทยสภารับรองและผ่านการเพิ่มพูนทักษะมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี

– มีค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ไม่ต่ำกว่า ๒.๕ หรือเทียบเท่า

–  มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม

–  ผู้เข้าศึกษาต้องมีผลคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษ

สมัครได้ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม – 17 มิถุนายน 2565

ติดต่อ

โทร 02-576-6600 ต่อ 8527

อีเมล [email protected]

Facebook Dermatology Pscm-cra

ประชาสัมพันธ์และข่าวสาร

ประกาศ

ข่าวสารและกิจกรรม

ประกาศวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาตจวิทยา วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ รอบที่ ๒ ประจำ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ 

คณะกรรมการบริหารหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาตจวิทยา วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมหารือ กับนักวิจัยของสถาบันนาโนเทคโนโลยี ในวันที่ 28 มิถุนายน 2565 ณ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ

ติดต่อสอบถาม

เบอร์โทรติดต่อ: 02-576-6600 ต่อ 8527

Email: [email protected]

https://www.facebook.com/DermatologyPSCM.CRA